นวัตกรรมล่าสุดของอิฐก่อผนังที่แพร่หลายในยุโรป
ผลิตจากซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สอดไส้ฉนวน Expanded Polystyrene(EPS/Styrofoam) ชนิด Flame Retardant (ไม่ลามไฟ)
ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนได้ดีที่สุด เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีความชื้นสูงและฝนตกชุก ด้วยอัตราการนำความร้อนต่ำที่สุดเพียง 0.0829 W/m.K และอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 9.30 % อาคารบ้านเรือนที่สร้างด้วย Cool Block จะเย็นสบายกว่าอาคารบ้านเรือนทั่วไป และช่วยลดปัญหาการกะเทาะร่อนของสีผนังและปัญหาเชื้อราที่เกิดจากความชื้น
เมื่อฝนกระหน่ำจากภายนอก ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติอิฐบล็อก
ฉนวน Expanded Polystyrene ที่ใช้ใน Cool Block อยู่ในประเภท Organic Cellular Material ซึ่งเป็นเนื้อวัสดุ Polystyrene เพียง 2% ที่ห่อหุ้มอากาศอยู่ถึง 98% จึงไม่เป็นพิษมีน้ำหนักเบา และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมเพราะไม่มีสาร CFC’s และรีไซเคิลได้ Cool Block ยังใช้ Expanded Polystyrene เกรด Flame Retardant ชนิดไม่ลามไฟ เพื่อความปลอดภัย
ฉนวน Expanded Polystyrene/EPS คือพลาสติกโฟมที่ใช้ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับก๊าซหุงต้ม หรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent) เมื่อนำมาผลิตเป็นฉนวนโฟม EPS ก๊าซ Pentane ที่อยู่ภายในตัวเม็ดวัตถุดิบจะขยายตัว เมื่อได้รับความร้อนจากไอน้ำ (Steam) ดันให้เนื้อพลาสติกฟูออกกลายเป็นเม็ดโฟมขาวๆ จากนั้นจึงนำไปอัดขึ้นรูปเป็นไส้ฉนวนโฟมที่อยู่ใน Cool Block ต่อไป โดยทั่วไปฉนวนโฟม EPS จะขยายตัวประมาณ 50 เท่าและเมื่อขยายตัวแล้วจะมีอากาศเข้ามาแทนที่ถึง 98% ของปริมาตรจึงทำให้มีน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับขนาด คุณลักษณะนี้เองที่ทำให้ฉนวนโฟม EPS สามารถรองรับแรงกระแทก และเป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างดี
PHYSICAL PROPERTIES | UNIT | RESULTS | INSTITUTES |
---|---|---|---|
Thermal Conductivity | W/(m-K) | 0.0829 | The Department of Science Service |
Thermal Resistant | m2-K/W | 0.8326 | The Department of Science Service |
Compressive Strength | Kg/cm2 | 16.99 | King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok |
Water Absorption | % | 9.30 | The Department of Scrience Service |
Airborne Sound Transmission – Loss Measurements | STC | 34 | Chulalongkorn University |
คุณสมบัติ | Cookblock อิฐคูลบล็อก | อิฐบล็อก | อิฐมวลเบา | อิฐมอญ |
---|---|---|---|---|
ค่าการนำความร้อน (W/m-K) | 0.0829 | 0.42 | 0.098 | 1.15 |
ค่าต้านทานความร้อน (m2-K/W) | 0.8326 | – | – | – |
ความต้านทานแรงอัด (KSC) | 16.99 | 20.38 | 40 | 40 |
การดูดซึมน้ำ (%) | 9.30 | 35 | >30 | 20 |
การทนไฟ (hr) | 4 | 2 | 4 | 2 |
การดูดซับเสียง (dB/STC Rating) | 25/34 | N/A | 43/50 | 38/45 |
น้ำหนัก (kg/SQM) | 63 | 90 | 45 | 130 |
น้ำหนักรวมปูนก่อฉาบ (kg/SQM) | 110 | 155 | 90 | 180 |
ปูนก่อ | ทั่วไป | ทั่วไป | ปูนก่อเฉพาะ | ทั่วไป |
ปูนฉาบ | ทั่วไป | ทั่วไป | ปูนก่อเฉพาะ | ทั่วไป |
อุปกรณ์การตัด | ทั่วไป | ทั่วไป | ทั่วไป | ฆ้อน |
การเจาะฝังท่อ | ทำได้ง่าย | ทำได้ง่าย | ทำได้ยาก | ทำได้ยาก |
การเจาะยึด, แขวน | พุกทั่วไป | พุกทั่วไป | พุกเฉพาะ | พุกทั่วไป |
กันความร้อน : ลักษณะเด่นของ Cool Block คือมีฉนวน Expanded Polystyrene (EPS/Styrofoam)
ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุก่อสร้างประเภทเดียวกันในปัจจุบัน เนื่องจากอัตราการนำความร้อนเพียง 0.0829 W/m.k Cool Block จึงเป็นวัสดุก่อสร้างที่สามารถป้องกันความร้อน ถ่ายเทเข้าสู่ภายในอาคารบ้านเรือน ทำให้สามารถรักษาอุณหภูมิภายในห้องได้นานอย่างต่อเนื่อง
ประหยัดพลังงาน : Cool Block คือคำตอบสุดท้ายของความประหยัด เหมาะสำหรับอาคารทุกประเภทที่ต้องการประหยัดพลังงาน เพราะมีฉนวน Expanded Polystyrene จึงสามารถป้องกันความร้อนถ่ายเทเข้าสู่อาคารบ้านเรือน ทำให้อุณหภูมิภายในห้องลดลงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเริ่มเปิดเครื่องปรับอากาศ ความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าจึงลดลง
กันความชื้น : ฉนวนใน Cool Block กันน้ำ กันความชื้นได้ดีกว่า เพราะมีอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 9.30% ทำให้ไม่ไปแย่งน้ำปูน เวลาฉาบจึงลดปัญหาการแตกร้าว นอกจากนั้นยังกันน้ำกันความชื้น และยังช่วยลดการเกิดเชื้อรา การกะเทาะร่อนของสี ทาผนังเมื่อถูกฝนกระหน่ำจากภายนอก
เลื่อยได้ เซาะร่องได้ และตอกตะปูได้ : Cool Block มีน้ำหนักเบากว่าอิฐบล็อกทั่วไป เนื่องจากมีส่วนผสมของ Expanded Polystyrene สูตรพิเศษ จึงทำให้สามารถเลื่อยได้ เซาะร่องได้ และตอกตะปูได้
ใช้กับปูนได้ทุกชนิด (ไม่ต้องใช้ปูนพิเศษให้ยุ่งยาก) : Cool Block สามารถใช้กับปูนฉาบได้ทุกชนิด ไม่ต้องมีทักษะความชำนาญหรือวิธีการใดเป็นพิเศษ
ผลการทดสอบอิฐก่อผนัง Cool Block
การก่อ Cool Block
การก่อผนัง : Cool Block สามารถก่อโดยการใช้กับปูนสำเร็จรูปทั่วไปที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด หรือใช้ปูนทรายผสมเองตามสัดส่วน
ไม่ต้องนำไปแช่น้ำก่อนการก่อ เพียงแค่รดน้ำทำความสะอาดบริเวณสันก้อนของบล็อกให้ชุ่ม
แถวบนสุดก่อให้ถึงใต้ท้องคานแล้ว ต้องเว้นช่วงห่างจากท้องคานประมาณ 5-10 ซม. ทิ้งผนัง Cool Block ไว้ให้ปูนก่อแข็งตัว 1-2 วัน แล้วจึงอุดด้วยปูนก่อระหว่างอิฐผนัง Cool Block กับคาน หรือก่ออิฐ Cool Block แทรกให้เต็ม
ผิวคอนกรีตที่เป็นเสา พื้น และคาน ก่อนก่อควรราดน้ำให้ทั่วควรจะฝังเหล็กหนวดกุ้งไว้ เพื่อยึดจับกับผนัง Cool Block ได้แน่นหนา
การก่อในชั้นที่สูงขึ้นไป ควรก่อสลับแนวระหว่างแถวบนและแถวล่างต้องเหลื่อมกัน เพราะจะช่วยให้การยึดเกาะให้แน่นขึ้น
การฉาบผนัง Cool Block
Cool Block มีอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐประเภทอื่นๆ อีกทั้งวัสดุหลักที่ใช้เป็นซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และทรายละเอียด ดังนั้น เวลาฉาบสามารถใช้ปูนฉาบทั่วไปได้ดี และลดปัญหาการแตกร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การฉาบ Cool Block
ก่อนฉาบควรเตรียมพื้นที่ที่จะฉาบทำความสะอาดและใช้แปรงสลัด หรือ พรมน้ำให้ชุ่มพอประมาณ ไม่มากจนเกินไป ตลอดแผงการฉาบผนังได้บางๆ เพียง 1-1.5 ซม. หากต้องการฉาบหนากว่านั้นควรมีการขึ้นปูนฉาบชั้นหนึ่งก่อน แล้วปล่อยทิ้งให้แห้งประมาณ 1-2 วัน จึงฉาบทับผิวหน้าอีกชั้นหนึ่งให้ได้ความหนาตามต้องการ
บริษัท สวีทโฮมเอ็นเนอร์จีเซฟวิ่งซีสเต็ม จำกัด
356 ถนนอนามัยงามเจริญ แขวงท่าข้าม
เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
© Copyright 2019 , Polyfoam Group of Companies. All rights reserved. นโยบายความเป็นส่วนตัว