
Cool Block
เป็นนวัตกรรมล่าสุดของอิฐก่อผนังที่แพร่หลายในยุโรป
ผลิตจากซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สอดไส้ฉนวน Expended Polystyrene
(EPS/Styrofoam) ชนิด Flame Retardant (ไม่ลามไฟ)
ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนได้ดีที่สุด เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีความชื้นสูงและฝนตกชุก ด้วยอัตราการนำความร้อนต่ำทีสุดเพียง 0.09 W/m.K และอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 14 % อาคารบ้านเรือนที่สร้างด้วย Cool Block จะเย็นสบายกว่าอาคารบ้านเรือนทั่วไป และช่วยลดปัญหาการกะเทาะร่อนของสีผนังและปัญหาเชื้อราที่เกิดจากความชื้น
เมื่อฝนกระหน่ำจากภายนอก
ฉนวน Expanded Polystyrene ที่ใช้ใน Cool Block อยู่ในประเภท Organic Cellular Material ซึ่งเป็นเนื้อวัสดุ Polystyrene เพียง 2% ที่ห่อหุ้มอากาศอยู่ถึง 98% จึงไม่เป็นพิษมีน้ำหนักเบา และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมเพราะไม่มีสาร CFC’s และรีไซเคิลได้ Cool Block ยังใช้ Expanded Polystyrene เกรด Flame Retardant ชนิดไม่ลามไฟ เพื่อความปลอดภัย
ฉนวน Expandable Polystyrene/EPS คือพลาสติกโฟมที่ใช้ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับก๊าซหุงต้ม หรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent) เมื่อนำมาผลิตเป็นฉนวนโฟม EPS ก๊าซ Pentane ที่อยู่ภายในตัวเม็ดวัตถุดิบจะขยายตัว เมื่อได้รับความร้อนจากไอน้ำ (Steam) ดันให้เนื้อพลาสติกฟูออกกลายเป็นเม็ดโฟมขาวๆ จากนั้นจึงนำไปอัดขึ้นรูปเป็นไส้ฉนวนโฟมที่อยู่ใน Cool Block ต่อไป โดยทั่วไปฉนวนโฟม EPS จะขยายตัวประมาณ 50 เท่าและเมื่อขยายตัวแล้วจะมีอากาศเข้ามาแทนที่ถึง 98% ของปริมาตรจึงทำให้มีน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับขนาด คุณลักษณะนี้เองที่ทำให้ฉนวนโฟม EPS สามารถรองรับแรงกระแทก และเป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างดี
ฉนวนประเภท | โพลิสไตรีน | |
เกรด | ไม่ลามไฟ | |
อัตราการนำความร้อน (K) w/m k | 0.038 W/mK | |
ค่าความต้านทานความร้อน (R) m.k/W | 27.78 m.k/W | |
อัตราการดูดน้ำ | <5% | |
ค่ากำลังแรงอัด (กก./ตร.ซม.) | 25-45 | |
ขนาด (ซม.) | 7 หรือ 9*19*39 | |
จำนวนก้อน/ตารางเมตร | 12.5 ก้อน | |
น้ำหนักต่อก้อน (กก.) | 4-7 |
กันความร้อน : ลักษณะเด่นของ Cool Block คือมีฉนวน Expanded Polystyrene (EPS/Styrofoam)
ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุก่อสร้างประเภทเดียวกันในปัจจุบัน เนื่องจากอัตราการนำความร้อนเพียง 0.09 W/mK Cool Block จึงเป็นวัสดุก่อสร้างที่สามารถป้องกันความร้อน ถ่ายเทเข้าสู่ภายในอาคารบ้านเรือน ทำให้สามารถรักษาอุณหภูมิภายในห้องได้นานอย่างต่อเนื่อง
ประหยัดพลังงาน : Cool Block คือคำตอบสุดท้ายของความประหยัด เหมาะสำหรับอาคารทุกประเภทที่ต้องการประหยัดพลังงาน เพราะมีฉนวน Expanded Polystyrene จึงสามารถป้องกันความร้อนถ่ายเทเข้าสู่อาคารบ้านเรือน ทำให้อุณหภูมิภายในห้องลดลงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเริ่มเปิดเครื่องปรับอากาศ ความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าจึงลดลง
กันความชื้น : ฉนวนใน Cool Block กันน้ำ กันความชื้นได้ดีกว่า เพราะมีอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 14% ทำให้ไม่ไปแย่งน้ำปูน เวลาฉาบจึงลดปัญหาการแตกร้าว นอกจากนั้นยังกันน้ำกันความชื้น และยังช่วยลดการเกิดเชื้อรา การกะเทาะร่อนของสี ทาผนังเมื่อถูกฝนกระหน่ำจากภายนอก
เลื่อยได้ เซาะร่องได้ และตอกตะปูได้ : Cool Block มีน้ำหนักเบากว่าอิฐบล็อกทั่วไป เนื่องจากมีส่วนผสมของ Expanded Polystyrene สูตรพิเศษ จึงทำให้สามารถเลื่อยได้ เซาะร่องได้ และตอกตะปูได้
ใช้กับปูนได้ทุกชนิด (ไม่ต้องใช้ปูนพิเศษให้ยุ่งยาก) : Cool Block สามารถใช้กับปูนฉาบได้ทุกชนิด ไม่ต้องมีทักษะความชำนาญหรือวิธีการใดเป็นพิเศษ
เก็บเสียง : ฉนวน Expanded Polystyrene (EPS/Styrofoam) ที่สอดไส้อยู่นั้น ยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถดูดซับเสียงและลดทอนความดังได้อย่างดีเยี่ยม จึงสามารถป้องกันเสียงสะท้อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
รายการ | Cool Block | อิฐมวลเบา | อิฐมอญ |
---|---|---|---|
น้ำหนักวัสดุ(กก./ตร.ม.) | 63 | 57 | 125 |
น้ำหนักผนังรวม(กก.ตร.ม.) | 110-120 | 100-110 | 180 |
จำนวนก้อนต่อตารางเมตร | 12.5 | 8.33 | 135-145 |
ค่ากำลังแรงอัด(กก./ตร.ซม.) | 24 | 35-80 | 20-30 |
ค่าการนำความร้อน(W/mk) | 0.091 | 0.089-0.098 | 1.15 |
อัตราการกันเสียง | 34 | 38 | 43 |
อัตราการดูดซึมน้ำ
% โดยปริมาตร | 14% | 30% | 40% |
วัสดุก่อฉาบ | ทั่วไป | พิเศษ | ทั่วไป |
ช่างก่อสร้าง | ช่างก่อฉาบทั่วไป | พิเศษ | ช่างก่อฉาบทั่วไป |
การแตกหัก สูญเสียหรือแตกร้าว | 3% | 3% | 10% |
การฝังท่าน้ำ ไฟฟ้า | ทำได้ง่าย | ทำได้ง่าย | ฝังยาก |
อัตราการทนไฟ(ชั่วโมง) | 4 | 4 | 1-2 |
การตอกตะปูผนัง | เจาะได้ | เจาะได้แต่รับน้ำหนักไได้น้อย | เจาะได้ |
ความหนาของปูนฉาบ(ซม.) | 0.5-1.50 | 0.5-1 | 1-2 |
การก่อ Cool Block
การก่อผนัง : Cool Block สามารถก่อโดยการใช้กับปูนสำเร็จรูปทั่วไปที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด หรือใช้ปูนทรายผสมเองตามสัดส่วน ไม่ต้องนำไปแช่น้ำก่อนการก่อ เพียงแค่รดน้ำทำความสะอาดบริเวณสันก้อนของบล็อกให้ชุ่ม
3. แถวบนสุดก่อให้ถึงใต้ท้องคานแล้ว ต้องเว้นช่วงห่างจากท้องคานประมาณ 5-10 ซม. ทิ้งผนัง Cool Block ไว้ให้ปูนก่อแข็งตัว 1-2 วัน แล้วจึงอุดด้วยปูนก่อระหว่างอิฐผนัง Cool Block กับคาน หรือก่ออิฐ Cool Block แทรกให้เต็ม
4. ผิวคอนกรีตที่เป็นเสา พื้น และคาน ก่อนก่อควรราดน้ำให้ทั่วควรจะฝังเหล็กหนวดกุ้งไว้ เพื่อยึดจับกับผนัง Cool Block ได้แน่นหนา
5. การก่อในชั้นที่สูงขึ้นไป ควรก่อสลับแนวระหว่างแถวบนและแถวล่างต้องเหลื่อมกัน เพราะจะช่วยให้การยึดเกาะให้แน่นขึ้น
การฉาบผนัง Cool Block
Cool Block มีอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐประเภทอื่นๆ อีกทั้งวัสดุหลักที่ใช้เป็นซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และทรายละเอียด ดังนั้น เวลาฉาบสามารถใช้ปูนฉาบทั่วไปได้ดี และลดปัญหาการแตกร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การฉาบ Cool Block
ก่อนฉาบควรเตรียมพื้นที่ที่จะฉาบทำความสะอาดและใช้แปรงสลัด หรือ พรมน้ำให้ชุ่มพอประมาณ ไม่มากจนเกินไป ตลอดแผงการฉาบผนังได้บางๆ เพียง 1-1.5 ซม. หากต้องการฉาบหนากว่านั้นควรมีการขึ้นปูนฉาบชั้นหนึ่งก่อน แล้วปล่อยทิ้งให้แห้งประมาณ 1-2 วัน จึงฉาบทับผิวหน้าอีกชั้นหนึ่งให้ได้ความหนาตามต้องการ
เป็นอิฐที่มีค่านำความร้อนต่ำที่สุดในท้องตลาด
ผลิตจากซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และโฟมโพลีสไตรีน
ที่ใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็น
ใช้กับปูนก่อปูนฉาบได้ทุกชนิดโดยช่างทั่วไป
ไม่จำเป็นต้องใช้ปูนกาวพิเศษหรือช่างเฉพาะทาง
น้ำหนักเบา เจาะท่อเซาะร่องติดยึดอุปกรณ์ได้ง่าย
ทำงานก่อฉาบได้รวดเร็ว ทำให้งานเสร็จเร็วกว่ากำหนด
กันความร้อนจากภายนอกเข้ภายใน
กันความชื้นและเก็บเสียง
ประหยัดพลังงาน
ประหยัดเวลาก่อสร้าง
ประหยัดเงินทุน
ประหยัดค่าไฟฟ้า
ยิ่งใช้ ยิ่งเหลือ
ใช้ Cool Block ก่อนจะสายเกินไป
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
356 ถนนอนามัยงามเจริญ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
356 Anamaingam-Charoen Rd. Thakham, Bangkhuntien, Bangkok 10150
© Copyright 2019 , Polyfoam Group of Companies. All rights reserved.